ทางสายกลาง ตรงกลางอยู่ตรงไหน

หลายคนก็มีคำถามว่า คิดอย่างไรที่ไม่ตั้งอยู่บนความพอใจ ไม่พอใจ ความคิดอย่างนั้นมีด้วยหรือ เขาไม่รู้เลยว่าความพอใจเป็นความคิดสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง ความไม่พอใจก็เป็นความคิดสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง แล้วตรงกลางมันอยู่ตรงไหน มันก็อยู่ตรงกลางของความพอใจ ไม่พอใจ แล้วตรงนั้นเขาเรียกว่าอะไร พระพุทธเจ้าเรียกว่า ความจริงที่แท้จริง คือความจริงของโลกและชีวิต ก็คือกฎธรรมชาติ ๒ กฎ คือ กฎไตรลักษณ์ และกฎของเหตุปัจจัย ความพอใจก็เป็นธรรมชาติ ความไม่พอใจก็เป็นธรรมชาติเช่นกัน ธรรมชาติทุกชนิดลงอยู่ในกฎธรรมชาติ ๒ กฎนั้น กฎธรรมชาติ ๒ กฎจึงเป็นหลักสายกลาง ไม่เอียงไปทางความพอใจ และไม่พอใจ

พระพุทธเจ้าจึงให้คนเราตั้งอยู่บนหลักสายกลาง เอาสายกลางนี้ไปดำรงชีวิต คือเอาไปประกอบกับความคิด แทนความพอใจ หรือไม่พอใจ หรือความไม่รู้ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน ชีวิตของเราก็อยู่ด้วยปัญญา หรือความรู้ที่ดับทุกข์ได้ ตลอดเวลาคนเราก็พอจะรู้ว่า ชีวิตต้องตั้งอยู่บนหลักสายกลาง แต่ก็ไม่มีผู้ใดบอกได้ หลักสายกลางนั้นคืออย่างไร ไม่มีผู้ใดอธิบายให้ชัดเจน ที่สามารถเอาไปปฏิบัติแล้วดับทุกข์ได้จริง ๆ ทีนี้เรารู้แล้วว่า หลักสายกลางคือ กฎธรรมชาติ ๒ กฎ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สรุปว่า ไม่เที่ยงเกิดดับ เอาไปใช้วิปัสสนาภาวนากำกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตอนที่ถูกกระทบสัมผัส อย่างนี้เรียกว่า ตามทันสิ่งที่มากระทบสัมผัส ไม่เที่ยงคือธรรมชาติ เกิดดับคือกฎธรรมชาติ ๒ กฎ พูดง่าย ๆ ก็คือ เอาไม่เที่ยงเกิดดับไปใช้กำกับการดำเนินชีวิตตลอดเวลา คนเราก็จะได้ชีวิตใหม่ ประกาศอิสรภาพให้กับตัวเองได้ เพราะตลอดเวลานับภพนับชาติไม่ถ้วน ความไม่รู้หรือความพอใจ ไม่พอใจกำกับชีวิตของคนมาตลอด มันนมนานจนคนเราไม่รู้ มองไม่เห็นว่าความพอใจคือโลภะ ไม่พอใจคือโทสะ ตามสิ่งที่มากระทบไม่ทัน เรียกว่าโมหะ หรือหลง โลภ โกรธ หลง จึงเป็นโปรแกรมของคนเราทุกคนโดยไม่รู้ตัว

มนุษย์ทุกคนไม่ค่อยปกติ

ทุกคนต้องมาชดใช้วิบากกรรมที่ทำไว้ตลอดเวลา

เรารู้จักตัวเราเองดีแล้วหรือยัง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy