ต้องแลกอริยทรัพย์ด้วยความเพียรเท่านั้น
ความเพียรจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบ คือ
พระพุทธเจ้าท่านตรัสสรุปไว้ว่า ไม่มีอะไรเอาชนะความเพียรพยายามของมนุษย์ได้ คำนี้คำเดียว ถ้าเราเจาะเข้าไปแล้วก็หนาวเลยนะ หมายความว่า ถ้าเอาความเพียรพยายามมาตั้งเป็นหลักปฏิบัติ ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม ถ้าเราขยันหมั่นเพียร เราจะทำได้ทุกสิ่งไม่ว่าในทางโลก หรือทางธรรม
ความเพียรพยายามสูงสุดของเราเท่านั้น ที่จะเอาชนะความเคยชินเก่า ๆ ของเราได้
ทุกข์คือความเกิด ถ้าเกิดอยู่ก็ต้องทุกข์ตลอดไป ถ้าดับการเกิดได้ ก็ดับทุกข์ได้ ดับความเกิดได้ ก็ดับอวิชชาได้
อวิชชาเกิดที่ไหน เกิดที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดเพราะตามสิ่งที่มากระทบสัมผัสไม่ทัน ไปหลงพอใจ แปลว่าโลภ ไม่พอใจแปลว่าโกรธ ตามไม่ทันแปลว่าหลง โลภโกรธคือทุกข์ ในอริยสัจ ๔ ตามไม่ทันคือหลง ก็คือสมุทัยในอริยสัจ ๔ ถ้าตามทัน ทุกข์ก็ไม่เกิด ตามทันแปลว่านิโรธ ตามทันเป็นประจำ เรียกว่า มรรคปฏิปทา หรือทางดับทุกข์ หรือทางดับอวิชชา
พระพุทธเจ้าได้วางทางดับทุกข์ไว้คือ การวิปัสสนาภาวนาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ คือ ท่องจำกฎธรรมชาติ ๒ กฎ ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ สรุปว่าไม่เที่ยงเกิดดับ กำกับการกระทบสัมผัสทางอินทรีย์ ๖ ให้ตามทันโลกภายนอก ที่มากระทบสัมผัสตัวของเราว่า มันไม่เที่ยงเกิดดับ เพื่อดับความพอใจ ไม่พอใจที่จะเกิดขึ้นตามมากับการกระทบสัมผัส นั่นคือทุกข์เกิดที่ไหน ให้ดับที่นั่น พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้